รัสเซียCountry Profile : Russia |
![]() |
|
![]() |
- การศึกษา
|
|
ชื่อทางการ
|
สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation) ตั้งแต่ปีค.ศ. 1990 (จักรวรรดิ์รัสเซีย-จนถึงปีค.ศ. 1917 สาธารณรัฐสังคมนิยมสหภาพโซเวียตรัสเซีย ระหว่างปีค.ศ. 1918-1922 สหภาพโซเวียต ระหว่าง ปีค.ศ. 1922-1990) |
||||||||||||||||||
พื้นที่
|
17,075,4000 ตร.กม. คิดเป็นร้อยละ 11.5 ของพื้นที่โลกทั้งหมด ใหญ่กว่าสหรัฐฯประมาณ 1.8 เท่า และใหญ่กว่าไทย 35 เท่า
|
||||||||||||||||||
เมืองหลวง
|
กรุงมอสโก Moscow (อ่านออกเสียงตามที่ราชบัณฑิตยสถานกำหนด) และอ่านว่า /มัซ-ค-วา/ ตามภาษารัสเซีย
|
||||||||||||||||||
ภูมิศาสตร์
|
- มีดินแดนคลุม 2 ทวีป ได้แก่ทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย โดยพื้นที่มากกว่า 2 ใน 3 ของประเทศอยู่ในทวีปเอเชีย |
||||||||||||||||||
เวลา
|
- พื้นที่ของรัสเซียครอบคลุม 11 เขตเวลา ในขณะที่เขตคาลินินกราดทางตะวันตกสุดเป็นเวลา12.00 น. ที่คาบสมุทรคามชัตก้า (Kamchatka) ทางตะวันออกสุดจะเป็นเวลา 23.00 น.
- ความต่างของเวลาระหว่างกรุงมอสโกกับกรุงเทพฯ : กรุงมอสโกช้ากว่ากรุงเทพฯ 3 ชั่วโมง ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนตุลาคม และช้ากว่า 4 ชั่วโมงระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม |
||||||||||||||||||
ภูมิอากาศ
|
รัสเซียมีเขตภูมิอากาศที่หลากหลายและแตกต่างระหว่างกันอย่างมาก มีฤดูหนาวยาวนาน อากาศหนาวจัดและพื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยหิมะเป็นเวลานานถึง 6 เดือนโดยมีสภาพอากาศ หลากหลาย ดังนี้ - สภาพอากาศแบบภาคพื้นทวีป (continental)ในบริเวณส่วนใหญ่ของประเทศทั้งในเขตยุโรปและเอเชียรวมทั้งกรุงมอสโกและนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ซึ่งมีสภาพอากาศร้อนจัดและหนาวจัด และแปรปรวนอย่างรวดเร็ว โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูหนาว 0 ถึง -10 ในขณะที่ในฤดูร้อนมีอุณหภูมิสูงสุดถึง 30 ถึง 35 องศาเซลเซียสและจะกลับมาเย็นจัดในเวลาเดียวกันเมื่อฝนตก - สภาพอากาศอบอุ่นแบบชายฝั่งทะเลที่เขตคาลินิกราด (Kaliningrad)ทางทะเลบอลติกและเมืองท่าวลาดิวอสต๊อค(Vladivostok)ของภาคปกครองพรีมอร์สค์ทางมหาสมุทรแปซิฟิกโดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 0-10 องศาเซลเซียสในฤดูหนาวและ 15 ถึง 25 องศาเซลเซียสในฤดูร้อน - สภาพอากาศแบบกึ่งร้อนชื้นที่เมืองท่าโนโวรัสซีสสค์ (Novo-Russyssk) และเมืองตากอากาศ โซชิ (Sochi)ทางบริเวณตอนไต้ของประเทศซึ่งมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยทั้งปีระหว่าง 15 ถึง 25 องศาเซลเซียส - กรุงมอสโกและนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กมีอุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงฤดูร้อนระหว่าง 15 ถึง 30 องศาสลับฝน ส่วนอุณหภูมิในฤดูหนาวอยู่ระหว่าง 5 ถึง –15 องศาเซลเซียส ไม่ปรากฏพายุหิมะหรือพายุน้ำแข็งบ่อยครั้งเหมือนทวีปอเมริกาเหนือ |
||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||
ทรัพยากรธรรมชาติ
|
กล่าวกันว่า รัสเซียเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิดที่บันทึกไว้ในตารางเคมี มีแร่โลหะและอโลหะมากกว่าร้อยละ 30 ของแหล่งสำรองของโลก มีก๊าซธรรมชาติมากกว่าร้อยละ 30 ของแหล่งสำรองก๊าซธรรมชาติของโลก มีน้ำมันดิบมากกว่าร้อยละ 15 ของน้ำมันดิบสำรองของโลก รวมทั้งมีแร่ธาตุที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์และรัตนชาติ เช่น เงิน เพชร มรกต และอื่นๆ |
||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||
สภาพแวดล้อม
|
มลภาวะทางอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้ในโรงงานอุตสาหกรรม โรงกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน เป็นเชื้อเพลิง และท่อไอเสียของรถยนต์ พบได้ตามเมืองใหญ่ทุกแห่ง ภาวะน้ำเสียปรากฏตาม เส้นทางเดินเรือภายในประเทศ การบำบัดน้ำเสียที่ไม่ได้รับการปรับปรุงให้มีมาตรฐานตาม สุขอนามัย และมีการใช้สารเคมีในดินที่เป็นแหล่งเกษตรกรรมเกินมาตรฐาน |
||||||||||||||||||
ประชากร
|
ประชากรในรัสเซียมีจำนวนประมาณ 144.2 ล้านคน (2004) หรือประมาณร้อยละ 2.4 ของจำนวนประชากรโลกในปีค.ศ. 2004 ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ยทั้งประเทศ 8.7 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ในขณะที่ในเมืองใหญ่เช่นกรุงมอสโกและนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก จะมีความหนาแน่นของประชากร 8,600 คนใน 1 ตารางกิโลเมตรและ 7,768 ใน 1 ตารางกิโลเมตรตามลำดับ รัสเซียเป็นประเทศหลากเชื้อชาติ มีชนชาติต่างๆ มากกว่า 120 เชื้อชาติโดยเป็นชาวรัสเซียร้อยละ 80 ของประชากรทั้งหมด ที่เหลือเป็นยูเครน ตาตาร์ อาร์เมเนียน โปล ฟิน เยอรมัน เกาหลีและประชากรที่สืบเชื้อสายจากกลุ่มเชื้อชาติมองโกลอยด์ อายุเฉลี่ยของชาวรัสเซีย 67.66 ปี ประชากรมากกว่าร้อยละ 72 อาศัยอยู่ในเขตเมือง และร้อยละ 28 อยู่ในภาคเกษตรกรรมในชนบทมากกว่าร้อยละ 70 ของประชากรอยู่ในวัยทำงานคือระหว่าง 15-64 ปี อัตราการขยายตัวของประชากร -0.3 แสดงถึงแนวโน้มจำนวนประชากรลดลง คาดการณ์กันว่ารัสเซียจะมีจำนวนประชากรเหลือเพียง 120 ล้านคนภายในปี 2565 |
||||||||||||||||||
ภาษา
|
รัฐธรรมนูญรัสเซีย (มาตราที่ 68) กำหนดให้ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการ ทั้งนี้ รวมไปถึงหนังสือติดต่อราชการ การประกาศโฆษณาและติดฉลากสินค้าที่ต้องใช้ภาษารัสเซียด้วย แต่ในภาคธุรกิจ ยอมรับการใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร อาทิ ภาษาอังกฤษและภาษาเยอรมัน สำหรับสาธารณรัฐที่อยู่ในการปกครองของรัสเซีย 21 แห่ง ให้ใช้ภาษารัสเซียและภาษาท้องถิ่นของตนเป็นภาษาราชการ |
||||||||||||||||||
ศาสนา
|
ร้อยละ 90 ของประชากรในรัสเซียนับถือศาสนาคริสต์นิกายรัสเชี่ยนออร์โธดอกซ์ ประมาณร้อยละ 6 นับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ (ในสาธารณรัฐตาตาร์สถาน สาธารณรัฐบาชคอร์ตอสถาน สาธารณัฐดาเกสถาน สาธารณรัฐเชชเนียและ สาธารณรัฐคาบาร์ดิโน-บัลคาเรีย ) |
||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||
สกุลเงิน
|
รูเบิล (rubles- RUR) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ (USD) = RUR 28 (ณ วันที่ 1 มีนาคม 2549) |
||||||||||||||||||
รัสเซียปรากฏขึ้นเป็นรัฐชาติ (state-nation) ครั้งแรกในตอนปลายศตวรรษที่ 10 หรือในปี ค.ศ. 988 ซึ่งเป็นปีที่รัสเซียรับเอาศาสนาคริสต์มาเป็นศาสนาประจำชาติโดยมีอาณาเขตของรัฐอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำ ดเนียโปร (Dniepr) มีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่เมืองเคียฟ เมืองหลวงของประเทศยูเครนในปัจจุบัน อาณาจักรรัสเซียโบราณเรียกตนเองว่ารุสแห่งเคียฟ (Kievan Rus) โดยเมืองเคียฟเป็นรอยต่อที่สำคัญของเส้นทางการค้าทางเรือที่เชื่อมระหว่างทะเลบอลติกกับทะเลเมดิเตอเรเนียนซึ่งเป็นเส้นทางที่ชาวไวกิ้งจากทะเลบอลติกเป็นผู้บุกเบิกและเชื่อกันว่าชาวไวกิ้งที่มาจากพื้นที่บริเวณที่ชาวสวีเดนเรียกว่ารูสลาเกน (Ruslagen) ในประเทศสวีเดนในปัจจุบัน เป็นผู้รวบรวมชาวรัสเซียที่กระจัดกระจายอยู่ตามแว่นแคว้นต่างๆ ในบริเวณลุ่มแม่น้ำดเนียโปรและแม่น้ำสายเล็กสายน้อยสาขาของทะเลบอลติกให้เป็นปึกแผ่นและสร้างเมืองการค้าตามบริเวณลุ่มแม่น้ำจากทะเลบอลติกลงมา เช่น เมืองนอฟกอร็อด (Novgorod) และเมืองพสค็อฟ (Pskov) โดยให้เมืองเคียฟเป็นศูนย์อำนาจของอาณาจักรรุสหรือรุสเซียโบราณ จึงพอจะสันนิษฐานในชั้นนี้ได้ว่าชื่อประเทศรัสเซียในปัจจุบันซึ่งแผลงมาจากคำว่ารุส (Rus) ในอดีตนั้นน่าจะมีที่มาจากชื่อเรียกดินแดนรูสลาเก้นของสวีเดน ศูนย์กลางของอาณาจักรรัสเซียโบราณย้ายจากเมืองเคียฟไปยังเมืองต่างๆ ตามความแข็งแกร่งและอำนาจของเจ้าผู้ครองแคว้น โดยในศตวรรษที่ 12 ศูนย์อำนาจของอาณาจักรรัสเซียย้ายไปอยู่ที่เมืองวลาดิมีร์-ซุสดาล (Vladimir-Suzdal) และเมืองนอฟกอร็อดในเวลาต่อมา ก่อนที่จะถูกอนารยชนมองโกล-ตาตาร์เข้ายึดครองเป็นเวลาถึง 250 ปี ตั้งแต่ปีค.ศ. 1237 ถึงปีค.ศ. 1480 และในที่สุดศูนย์กลางของอาณาจักรรัสเซียก็ได้ย้ายจากวลาดิมีร์-ซุสดาลมาอยู่ที่เมืองมอสโกภายหลังที่เจ้าชายอีวานที่ 3 หรืออีวานมหาราช เจ้าผู้ครองแคว้นมอสโกประกาศปลดปล่อยรัสเซียออกจากแอกของมองโกล-ตาตาร์ได้สำเร็จในปีค.ศ. 1480 เจ้าชายอีวานมหาราชตั้งตนเป็นกษัตริย์ผู้ปกครองอาณาจักรรัสเซียที่มีมอสโกเป็นศูนย์กลาง สร้างมหาวิหารชาวคริสต์ในพระราชวังเครมลินฉลองชัยชนะเหนือมองโกล-ตาตาร์โดยให้มีไม้กางเขนปักพระจันทร์เสี้ยวหงายท้อง เสียบอยู่บนยอดวิหารเพื่อเป็นอนุสรณ์ของชัยชนะเหนืออาณาจักรมองโกล-ตาตาร์ผู้นับถือศาสนาอิสลามที่ใช้พระจันทร์เสี้ยวเป็นสัญลักษณ์ และต่อมาประกาศให้มอสโกเป็นผู้สืบทอดอำนาจของอาณาจักรโรมันตะวันออกต่อจากกรุงคอนสแตนติโนเปิลด้วยการอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงโซ ปาเลโอลูกุส แห่งอาณาจักรไบเซนไทน์รวมทั้งนำสัญลักษณ์นกอินทรีย์สองเศียรของอาณาจักรไบเซนไทน์มาเป็นสัญลักษณ์ของอาณาจักรรัสเซีย ต่อมากษัตริย์อีวานที่ 4 หรืออิวานจอมโหด หลานของอิวานมหาราช ได้ตั้งตนเองเป็นผู้นำโลกชาวคริสต์ด้วยการนำตำแหน่งซาร์ (Czar) ซึ่งมาจากซีซาร์ (Caesar) มาใช้เรียกแทนตำแหน่งกษัตริย์รัสเซียเป็นครั้งแรก อันเป็นการแสดงถึงการอ้างสิทธิผู้สืบอำนาจของอาณาจักรโรมันทั้งตะวันตกและตะวันออกอย่างสมบูรณ์ รัสเซียขยายเขตอาณาของตนออกไปในทุกทิศทุกทางระหว่างศตวรรษที่ 14-16 เข้ายึดครองอาณาจักรของตาตาร์ในบริเวณลุ่มแม่น้ำโวลก้าและเทือกเขายูราล บุกเข้าแคว้นไซบีเรียจนถึงดินแดนในภาคตะวันออกไกลที่เป็นเขตเก่าภายใต้การระบอบปกครองของมองโกล ในปีค.ศ. 1613 มิฮาอิล โรมานอฟปราบดาภิเษกขึ้นเป็นซาร์แห่งรัสเซียและสถาปนาราชวงศ์โรมานอฟขึ้นปกครองรัสเซีย รัสเซียทำสงครามกับสวีเดนระหว่างปี ค.ศ. 1700-1721 เพื่อแย่งชิงทางออกสู่ทะเลบอลติกและทำสงครามกับอาณาจักรออโตมันเติร์กระหว่างปีค.ศ.1789-1791 เพื่อแย่งชิงทางออกสู่ทะเลดำ ทำสงครามกับฝรั่งเศสในปีค.ศ. 1812 เพื่อต่อต้านการเข้ายึดครองของจักรพรรดินโปเลียน ราชวงศ์โรมานอฟปกครองรัสเซียจวบจนกระทั่งซาร์นิโคลัสที่ 2 ถูกโค่นล้มราชบัลลังก์พร้อมการสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชในรัสเซีย ในระหว่างการปฏิวัติสังคมนิยมในปีค.ศ. 1917 การปฏิวัติรัสเซียได้นำมาซึ่งการปกครองระบอบสังคมนิยมที่มีวลาดิมีร์ เลนินเป็นผู้นำ และสถาปนาสาธารณรัฐสังคมนิยมสหภาพโซเวียตรัสเซียขึ้นระหว่างปีค.ศ. 1918-1922 ซึ่งต่อมาเป็นสหภาพโซเวียต ระหว่างปีค.ศ. 1922-1991 หลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์ในดินแดนอาณานิคมของรัสเซียทั้งในเขตคอเคซัสและเอเชียกลางได้เข้ายึดอำนาจจนสำเร็จ รัสเซียภายใต้สหภาพโซเวียตถูกปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จนถึงปี ค.ศ. 1985 เมื่อนายมิฮาอิล กอร์บาชอฟ ก้าวขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียตพร้อมดำเนินนโยบายการปฏิรูประบบสังคมนิยมภายใต้ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการเปิดเสรีทางการเมือง (perestroika และ glasnost) ซึ่งเป็นผลจากการเสื่อมโทรมของระบบสังคมนิยมและการสูญเสียภูมิรัฐศาสตร์ครั้งใหญ่ของสหภาพ โซเวียตภายหลังการพ่ายแพ้ในสงครามในอัฟกานิสถาน(ค.ศ.1979-1989) การเปิดเสรีทางการเมืองของประธานาธิบดีกอร์บาชอฟนำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปีค.ศ. 1991 รัสเซียภายใต้สหภาพโซเวียตได้สถาปนาระบบประชาธิปไตยในรูปแบบสหพันธรัฐ โดยมีประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซิน เป็นผู้นำประเทศและเป็นประธานาธิบดีคนแรกของรัสเซียที่มาจากการเลือกตั้งทางตรง ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยและจัดตั้งระบบรัฐสภาสมัยใหม่เข้าแทนที่สภาโซเวียตในปีค.ศ. 1993 ดำเนินการปฏิรูประบบเศรษฐกิจจากการวางแผนส่วนกลางไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดจนประสบความสำเร็จในปัจจุบันพร้อมกับการก้าวขึ้นสู่อำนาจของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินในปีค.ศ. 1999 |
|||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||
1. รูปแบบการปกครองและหน่วยการปกครอง รัสเซียมีรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ ประกอบด้วยหน่วยการปกครองที่เป็นอิสระ 89 หน่วย แบ่งเป็น 21 สาธารณรัฐ (Republic) 6 เขตปกครอง (Krai) 49 มณฑล (Oblast) 2 นคร (Federal cities) ได้แก่ กรุงมอสโกและนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กซึ่งมีสถานภาพเดียวกับมณฑล 10 ภาคปกครองตนเอง(autonomous Okrug) และ 1 มณฑลปกครองตนเอง (Autonomous Oblast) หน่วยการปกครองทั้ง 89 แห่งอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ หน่วยการปกครองที่แบ่งตามหลักเชื้อชาติ และหน่วยการปกครองจากส่วนกลาง หน่วยการปกครองตามหลักเชื้อชาติ สาธารณรัฐ ภาคปกครองตนเอง และมณฑลปกครองตนเองเป็นหน่วยปกครองอิสระที่แบ่งตามลักษณะเชื้อชาติ แต่สาธารณรัฐมีอำนาจอธิปไตยจากรัฐบาลกลางในระดับหนึ่ง มีธรรมนูญการปกครองของตัวเอง และมีรูปแบบการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐซึ่งประชาชนมีสิทธิเลือกตั้งประมุขซึ่งโดยมากมีตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีของตนเองได้ รวมทั้งการเลือกตั้งคณะรัฐบาลและผู้แทนเข้าไปนั่งในรัฐสภาด้วย ส่วนมณฑลปกครองตนเองและเขตปกครองตนเองมีรูปแบบการปกครองในลักษณะคณะผู้บริหารซึ่งมี ผู้ว่าราชการแต่งตั้งมาจากส่วนกลางหรือเลือกตั้งทางตรง หน่วยการปกครองจากส่วนกลาง มณฑล เขตปกครอง กับกรุงมอสโกและนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเป็นหน่วยปกครองที่มิได้ยึดถือหลักเชื้อชาติ เป็นหน่วยปกครองท้องถิ่นที่กระจายลงมาจากส่วนกลาง สำหรับปกครองหน่วยพื้นที่ที่ประชากรส่วนข้างมากเป็นชาวรัสเซีย มีรูปแบบการปกครองในลักษณะคณะผู้บริหารซึ่งสั่งการลงมาจากส่วนกลางและมีผู้ว่าการ (Governor) เป็นหัวหน้าคณะผู้บริหาร ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางที่กรุงมอสโกกับหน่วยปกครองทั้ง 89 หน่วย ความสัมพันธ์โดยเฉพาะระหว่างรัฐบาลกลางที่กรุงมอสโกกับหน่วยปกครองทั้ง 89 หน่วย โดยเฉพาะกับสาธารณรัฐต่างๆ ทั้ง 21 แห่งถูกกำกับโดยสนธิสัญญาสหพันธ์ซึ่งเป็นข้อตกลงทวิภาคีระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลหน่วยปกครองในการจัดแบ่งอำนาจอธิปไตย สิทธิการจัดการและแบ่งปันทรัพยากรที่อยู่ในครอบครองของหน่วยปกครองและสิทธิการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศของหน่วยปกครอง ทั้งนี้ ควรตั้งเป็นข้อสังเกตว่า หากนักธุรกิจจะดำเนินการทางธุรกิจใดๆ กับหน่วยปกครองต่างๆ ควรต้องศึกษาสัญญาสหพันธ์ที่หน่วยการปกครองนั้นๆทำกับรัฐบาลกลางด้วย เพื่อความชัดเจนว่าเรื่องไหนที่รัฐบาลท้องถิ่นมีสิทธิตัดสินใจได้และเรื่องใหนอยู่ในขอบเขตการตัดสินใจของรัฐบาลกลาง
|
|||||||||||||||||||
2. ระบบบริหารส่วนกลาง ประมุขของประเทศ ในระบบสหพันธรัฐของรัสเซียมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและทำหน้าที่ผู้นำสูงสุดของฝ่ายบริหาร เป็นผู้บัญชาการสูงสุดของเหล่าทัพ ให้ความเห็นชอบหลักนิยมทางทหารรับผิดชอบการดำเนินนโยบายภายในประเทศและต่างประเทศ ประธานาธิบดีใช้อำนาจโดยผ่านการประกาศคำสั่งประธานาธิบดี (decree) และการใช้อำนาจยับยั้งการออกกฎหมาย (veto) ประธานาธิบดีมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรีและผู้ว่าการธนาคารกลางโดยความเห็นชอบจากรัฐสภา มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลโดยความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดีมีอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนผู้บัญชาการเหล่าทัพ มีอำนาจสั่งการโดยตรงต่อรัฐมนตรีกระทรวงหรือหน่วยงานด้านความมั่นคง เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานความมั่นคงแห่งรัฐหรือ FSB และสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ ประธานาธิบดี มีอำนาจยุบสภาตามขอบเขตของรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ประธานาธิบดียังมีสำนักงานที่พระราชวังเครมลินซึ่งมีเครื่องมือและกลไกทำหน้าที่กำหนดนโยบายและสั่งการในเรื่องที่สำคัญที่เกี่ยวกับนโยบายภายในและต่างประเทศ ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งสมัยละ 4 ปีและอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัย ประธานาธิบดีของรัสเซียคนปัจจุบันคือนายวลาดิมีร์ วลาดิมีโรวิช ปูติน ซึ่งได้รับการเลือกตั้งในสมัยแรกเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 2000 และได้เป็นประธานาธิบดีในสมัยที่สองในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 2004 ฝ่ายบริหาร นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลและทำหน้าที่รักษาการประธานาธิบดีเมื่อประธานาธิบดียุติการทำหน้าที่ มีอำนาจสั่งการและบริหารราชการกระทรวงทบวงกรมทั้งหมดยกเว้นหน่วยราชการด้านความมั่นคง คณะรัฐบาลส่วนกลางของรัสเซียประกอบด้วยหน่วยราชการระดับกระทรวง (Ministry) 16 กระทรวงซึ่งมีรัฐมนตรี (Minister)กำกับดูแล ได้แก่
ระดับสำนักงาน (Federal Service) แบ่งออกได้เป็น 1. สำนักงานที่ขึ้นต่อประธานาธิบดีโดยตรงและมีฐานะเทียบเท่าระดับกระทรวง 7 สำนักงาน ได้แก่
2. สำนักงานที่ขึ้นต่อนายกรัฐมนตรีโดยตรงและมีฐานะระดับกระทรวง 11 สำนักงาน โดยในเวลามีการประชุมคณะรัฐมนตรีที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน หัวหน้าสำนักงานนี้จะเข้าร่วมโดยตามลำดับพิธีจะนั่งอยู่ในแถวที่ 2 ของคณะรัฐมนตรี แต่จะไม่ได้เข้าร่วมในการประชุมที่ประธานาธิบดีเป็นประธาน ได้แก่
ระดับสำนักงานภายใต้กระทรวง (Federal Service) สำนักงานความร่วมมือด้านเทคนิคการทหารซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงกลาโหม เป็นต้น ฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐสภาของรัสเซียเป็นระบบ 2 สภา (Bicameral Parliament) คือสภาสหพันธ์ (Federation Council) และสภาดูมาหรือสภาผู้แทนราษฎร (State Duma) สภาสหพันธ์หรือวุฒิสภามีหน้าที่ให้การรับรองในเรื่องสำคัญต่างๆ ดังนี้ การเปลี่ยนเส้นพรมแดนระหว่างหน่วยปกครองของสหพันธ์ การประกาศคำสั่งของประธานาธิบดีในการประกาศสงคราม ลงมติในเรื่องการใช้กำลังทหารนอกประเทศ และการกำหนดการเลือกตั้งประธานาธิบดี สภาสหพันธ์ประกอบด้วยสมาชิก 178 คน มาจากผู้แทนของหน่วยปกครองของสหพันธรัฐรัสเซีย 89 แห่งๆละ 2 คน เป็นฝ่ายบริหาร 1 คนและฝ่ายนิติบัญญัติอีก 1คน สภาดูมา (“ดูมา” เป็นภาษารัสเซียแปลว่าสติปัญญา เป็นชื่อที่เรียกตามสภาในสมัยสมบูรณาสิทธิ-ราช) มีหน้าที่ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีโดยประธานาธิบดี ลงมติไม่ไว้วางใจคณะรัฐบาล ประกาศการอภัยโทษ ตั้งกระทู้กล่าวโทษความผิดของประธานาธิบดีเพื่อถอดถอนประธานาธิบดีออกจากตำแหน่ง สภาดูมาประกอบด้วยสมาชิก 450 คน เป็นสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต 250 คน และเป็นสมาชิกสภาแบบบัญชีรายชื่อพรรคอีก 250 คน มีวาระ 4ปี ฝ่ายตุลาการ ระบบตุลาการของรัสเซียประกอบด้วยสถาบันศาลสูง 3 สถาบัน ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ(Constitutional Court)ทำหน้าที่พิจารณาประเด็นข้อกฎหมายที่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ และตีความการขัดกันเองของรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา (Supreme Court) พิจารณาคดีข้อพิพาททางอาญา ทางแพ่งและทางการปกครอง ศาลอุทธรณ์ทางการค้า (Court of Arbitration) พิจารณาคดีและข้อพิพาททางการค้า และสำนักงานอัยการสูงสุด (General Prosecutor) |
|||||||||||||||||||
รัสเซียยังอยู่ในระยะการกำหนดสถานะและตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ของตนเองในระบบการเมืองของโลกภายหลังสงครามเย็น การดำเนินนโยบายต่างประเทศของรัสเซียในปัจจุบันมีเป้าหมายเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางสากลที่จะเป็นผลดีต่อรัสเซียในการพัฒนาเศรษฐกิจของรัสเซีย โดยให้ความสำคัญกับการแสวงหาการสนับสนุนทางเศรษฐกิจ การดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและการได้รับการยอมรับในเวทีสากลเป็นนโยบายลำดับที่หนึ่ง มิติทางการเมืองในนโยบายต่างประเทศ โดยเฉพาะ การช่วงชิงฐานะทางภูมิรัฐศาสตร์ และการสร้างดุลอำนาจทางการเมืองมีความสำคัญน้อยลงไป การปรับปรุงสัมพันธภาพกับสหรัฐอเมริกาและยุโรปตะวันตกเป็นความจำเป็น แม้จะถูกทดสอบใน$ |