สาธารณรัฐคีร์กิซ (Kyrgyz Republic) |
|
|||||
|
ข้อมูลพื้นฐาน |
||||
ที่ตั้ง
|
อยู่ในเอเชียกลาง ทางทิศตะวันตกของจีนและทิศใต้ของคาซัคสถาน
|
|||
ประชากร
|
5.1 ล้านคน (2548) ชาวคีร์กิซร้อยละ 75.5 อุซเบกร้อยละ 13.8
|
|||
เมืองหลวง
|
บิชเคก (Bishkek) (ประชากร 5.8 แสนคน)
|
|||
ภาษา
|
คีร์กิซและรัสเซียเป็นภาษาราชการ
|
|||
ศาสนา
|
อิสลามนิกายสุหนี่เป็นส่วนใหญ่
|
|||
เวลา
|
ซอม (Som) อัตราแลกเปลี่ยน 1 USD = 1,200 UzS (กุมภาพันธ์ 2549)
|
|||
ระบบการเมือง
|
เร็วกว่ามาตรฐาน GMT 5 ชั่วโมง
|
|||
ประมุข
|
ประธานาธิบดีเป็นประมุขและทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ |
|||
ข้อมูลเศรษฐกิจ |
||||
GDP at current price
|
8.5 พันล้านดอลลาร์ (2004)
|
|||
GDP per capita (PPP)
|
1,700 เหรียญดอลลาร์ (2004)
|
|||
ทรัพยากรธรรมชาติ
|
ทองคำ ยูเรเนียม ปรอท ถ่านหิน พลังงานไฟฟ้าจากน้ำ
|
|||
สินค้าเข้าสำคัญ
|
ผลิตภัณฑ์น้ำมัน ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ สินค้าเกษตรแปรรูป อาหาร สินค้าหัตถกรรม เมล็ดพืชไม้ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เชื้อเพลิง เครื่องจักรกล เสื้อผ้า
|
|||
สินค้าออกสำคัญ
|
เชื้อเพลิง แร่ โลหะ เครื่องจักรกล อุปกรณ์เกี่ยวกับการขนส่ง เคมีภัณฑ์ ยาสูบ ขนสัตว์ ฝ้าย
|
|||
สกุลเงิน
|
ซอม (Som) 1 เหรียญสหรัฐฯ = 46.65 ซอม (2004)
|
|||
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
|
||||
![]() ![]() |
||||
นักประวัติศาสตร์ศึกษาพบว่าบรรพบุรุษชาวคีร์กิซเป็นพวก Turkic ซึ่งอาศัยในดินแดนตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศมองโกเลียในปัจจุบัน และย้ายถิ่นฐานไปในเขตไซบีเรียตอนใต้ จนกระทั่งในศตวรรษที่ 15 จึงได้ตั้งถิ่นฐานในดินแดนสาธารณรัฐคีร์กิซในปัจจุบัน ในอดีตดินแดนสาธารณรัฐคีร์กิซเคยถูกครอบครองโดยจีนและอุซเบก จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1876 คีร์กิซ ได้ถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรรัสเซีย ต่อเนื่องไปถึงปี ค.ศ. 1918 ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต จนกระทั่งได้รับสถาปนาเป็นหนึ่งในสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1936 คีร์กิซสถาน (หรือสาธารณรัฐคีร์กิซ) ในปี ค.ศ.1990 นาย Askar Akarkev ได้รับเลือกตั้งประธานาธิบดีคนแรก และต่อมาในปี ค.ศ. 1991 สาธารณรัฐคีร์กิซได้รับเอกราชจากสหภาพโซเวียต และเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS)สาธารณรัฐคีร์กิซประสบความสำเร็จในการปฏิรูปเศรษฐกิจจนกลายเป็นประเทศแรกในอดีตสหภาพโซเวียตที่เข้าเป็นสมาชิก WTO (ค.ศ.1998) |
||||
สถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน |
||||
|
||||
เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2005 ประชาชนได้ก่อจลาจลเพื่อประท้วงผลการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร และการบริหารประเทศของประธานาธิบดี Askar Akarkev อีกทั้งยังมีประเด็นความขัดแย้งทางเชื้อชาติmujมีชาวอุซเบกเป็นชนกลุ่มน้อยและเป็นพรรคฝ่ายค้านจนทำให้นาย Akarkev ต้องลาออกจากตำแหน่ง และนาย Kurmanbek Bakiev ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.2548 สถานการณ์ดังกล่าวได้แสดงให้เห็นแนวโน้มการล้มอำนาจของประเทศที่มีรัฐบาลเผด็จการและมีผู้นำที่อยู่ในอำนาจมานาน โดยก่อนหน้านี้ คือ จอร์เจีย (2003) และยูเครน (2004) โดยสันนิษฐานว่าสหรัฐฯ อยู่เบื้องหลังซึ่งเป็นความพยายามในการบั่นทอนอำนาจและอิทธิพลรัสเซีย ทั้งนี้คีร์กิซและเอเชียกลางกลายเป็นพื้นที่สำคัญที่มีการถ่วงดุลอำนาจระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซีย ซึ่งทั้งสองได้ตั้งฐานทัพอยู่ในคีร์กิซสถานด้วย
|
||||
สภาวะทางเศรษฐกิจปัจจุบัน |
||||
เนื่องจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจของสาธารณรัฐคีร์กิซนั้นส่วนใหญ่เป็นสังคมเกษตรกรรม และ ประชากรส่วนใหญ่ยากจน จึงต้องมีการปฏิรูปประเทศอย่างเป็นขั้นตอน โดยคำนึงถึงรากฐานความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมและทางเชื้อชาติ และต้องพยายามยกระดับมาตรฐานการครองชีพให้สูงขึ้น เพื่อบรรเทาความรุนแรงที่เกิดจากความขัดแย้งจากความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ปัจจุบันรัฐบาลส่งเริมให้เอกชนเข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจให้มากที่สุด อย่างไรก็ตามกิจการบางอย่าง อาทิ กิจการเหมืองแร่และการผลิตพลังงานไฟฟ้า รัฐวิสาหกิจยังคงมีบทบาทมาก โดยกิจการด้านอุตสาหกรรมถึงร้อยละ 90 ยังเป็นของรัฐ สาธารณรัฐคีร์กิซมีพลังงานไฟฟ้าเป็นสินค้าส่งออกด้านพลังงานเพียงอย่างเดียว แต่โดยที่ตลาดพลังงานไฟฟ้าสำคัญของสาธารณรัฐคีร์กิซ ทั้งนี้ความหวังในระยะยาวของคีร์กิซอยู่ที่การขุดเจาะน้ำมัน ซึ่งจากการร่วมสำรวจของสาธารณรัฐคีร์กิซและสหรัฐฯ ได้พบแหล่งน้ำมันที่น่าสนใจหลายแหล่ง สภาวะเศรษฐกิจและการลงทุนในรัฐบาลของประธานาธิบดี Kurmanbek Bakiev ไม่ได้ต่างจากในสมัยนาย Askar Akarkev อีกทั้งยังมีการคอรัปชั่นและกลุ่มอาชญากรเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังคงมีปัญหาการปฏิบัติไม่เท่าเทียมกันระหว่างชาวคีร์กิซ และอุซเบก |
||||
โอกาสการค้าการลงทุน |
||||
คีร์กิซสถานเป็นประเทศเดียวในเอเชียกลางที่มีกฎหมายคุ้มครองการลงทุนจากต่างประเทศ กฎหมายให้สัมปทานแก่นักลงทุนต่างชาติ รัฐบาลยังได้ประกาศให้บิชเคกเป็นเขตการค้าเสรีเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยให้มีการเก็บภาษีสินค้าเข้าเพียงร้อยละ 10 และไม่มีการเก็บภาษีสำหรับสินค้าออก นักลงทุนต่างประเทศที่มาร่วมลงทุนกับคีร์กิซสถานจะได้รับการยกเว้นภาษีในช่วง 2-5 ปีแรก แต่หากเป็นการลงทุนร่วมในเขตการค้าเสรี จะได้รับการยกเว้นภาษี อย่างไรก็ตาม คีร์กิซอยู่ห่างไกลจากตลาดโลก การขนส่งสินค้ามีต้นทุนสูงทำให้ราคาสินค้าสูงตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม มีการสร้างเส้นทางรถไฟจากเอเชียกลางไปยังเมือง
ท่าบันดาร์ อับบาส (Bandar Abbas) ของอิหร่าน คีร์กิซสถานประสงค์จะดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศให้เข้าไปลงทุนในด้านเหมืองแร่ทองคำ พลังงาน อุตสาหกรรมผลิตสินค้าอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ และการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร โดยมีสินค้าหลักคือ ฝ้าย ขนแกะ ไหม ฟาง ป่าน หนังสัตว์ เนื้อสัตว์ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ผัก และผลไม้ ซึ่งยังคงได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล แต่โดยที่คีร์กิซสถานยังขาดทักษะในการ packaging มูลค่าการส่งออกของประเทศจึงยังมีน้อยกว่ามูลค่าการนำเข้า |
||||
ไทยกับสาธารณรัฐคีร์กิซ |
||||
สถาปนาความสัมพันธ์
|
6 สิงหาคม 2535
|
|||
เอกอัครราชทูต
|
นายสรยุตม์ พรหมพจน์ (ถิ่นพำนัก ณ กรุงมอสโก)
|
|||
มูลค่าการค้า
|
88.9 ล้านบาท
|
|||
ไทยส่งออก
|
81.9 ล้านบาท
|
|||
ไทยนำเข้า
|
7 ล้านบาท
|
|||
นักท่องเที่ยว
|
ประมาณ 500 คน ต่อปี
|
|||
* * * * * * * * * * * *
|
||||
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก
|
||||