จอร์เจีย (Georgia)

 

 

 

รูปจาก www.cia.gov

 

 

ข้อมูลพื้นฐาน

 
ที่ตั้ง

ทางตอนใต้ของเทือกเขา Transcaucasus

ทิศเหนือ จรดพรมแดนรัสเซีย

ทิศตะวันออก จรดพรมแดนอาเซอร์ไบจาน

ทิศใต้จรดพรมแดนอาร์เมเนีย และตุรกี

ทิศตะวันตก ติดชายฝั่งทะเลดำ

 
พื้นที่
69,700 ตารางกิโลเมตร หรือ 26,911 ตารางไมล์ ความหนาแน่นของประชากร 206 คน ต่อตารางไมล์
 
เมืองหลวง
กรุงทบิลิซี (Tbilisi) มีประชากรประมาณ 1.3 ล้านคน
 
ประชากร

4,960,951 คน (2545) แบ่งเป็น

ชาวจอร์เจีย ร้อยละ 70.1

ชาวอาร์เมเนียน ร้อยละ 8.1

ชาวรัสเซีย ร้อยละ 6.3

ชาวอาเซอรี ร้อยละ 5.7

ชาวอับคาเซีย ร้อยละ 1.8

ชาวออสเซเทีย ร้อยละ 3 และอื่นๆ

 
ภาษา

ภาษาจอร์เจีย เป็นภาษาราชการ(ร้อยละ 71)

ภาษารัสเซีย (ร้อยละ 9)

ภาษาอาร์เมเนีย (ร้อยละ 7)

ภาษาอาเซอรี (ร้อยละ 6)

ภาษาอับคาซเป็นภาษาราชการในอับคาเซีย

 
ศาสนา

คริสต์ นิกายจอร์เจียนออโธด็อกซ์ (ร้อยละ 65)

รัสเซียนออโธด็อกซ์ (ร้อยละ 10)

มุสลิม (ร้อยละ 11)

Armenian Apostolic (ร้อยละ 8)

 
เวลา
เเร็วกว่ามาตรฐาน GMT 3 ชั่วโมง (ช้ากว่าไทย 4 ชั่วโมง)
 
สกุลเงิน
Lari (GEL) 1 USD = 2.2 GEL (พ.ย. 2545)
 
วันชาติ
26 พฤษภาคม
 
ภูมิอากาศ

อบอุ่นสบาย ส่วนบริเวณชายฝั่งทะเลดำมีภูมิอากาแบบเมดิเตอร์เรเนียน

 
ทรัพยากรธรรมชาติ
ป่าไม้ พลังน้ำ แมงกานีส เหล็ก ทองแดง ถ่านหิน น้ำมัน ใบชา และมะนาว
 
สมาชิกองค์การระหว่างประเทศ
BSEC, CCC, CE(guest), CIS, EAPC, EBRD, ECE, FAO, IAEA, IBRD, IDA,
IFAD,IFC, ILO, IMF, IMO, Imarsat, Interpol, IOC, IOM (observer), ITU, OSCE, PFP,
UN,UNCTAD, UNESCO, UNIDO, UPU, WHO, WIPO, WMO, WTO (Tourism)
 
 

การเมืองการปกครอง

 
          เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2004 Mikhail Saakashvili ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีด้วยคะแนนเสียงกว่าร้อยละ 85  ประธานาธิบดี Mikhail Saakashvili   นับว่าเป็นคนหนุ่มสมัยใหม่ที่ได้รับการศึกษาด้านกฎหมายจากสหรัฐอเมริกา และถูกมองว่า เป็นผู้ที่ใฝ่หาพันธมิตรตะวันตก ประธานาธิบดี Mikhail Saakashvili   มีส่วนสำคัญในการนำการประท้วงจากมวลชนในเดือนพฤศจิกายน 2003 ต่อต้านการบริหารงานของประธานาธิบดี Shevardnadze โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกล่าวหาว่าโกงการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรของจอร์เจียเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2003 และกลายเป็นที่มาของ the Rose Revolution การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2004 เห็นชัยชนะอย่างท่วมท้นของกลุ่ม National Movement Democratic ซึ่งนำโดย ประธานาธิบดี Mikhail Saakashvili  
 
ระบบการเมือง
ประธานาธิบดีเป็นประมุขและทำหน้าที่ในการ บริหารและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยผ่านการเห็นชอบ 2 ใน 3 ของสมาชิกรัฐสภา
 
ประมุขและ
หัวหน้ารัฐบาล
ประธานาธิบดี  Mikhail Saakashvili  ได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 และการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี 2552
 
นายกรัฐมนตรี
นาย Zurab Noghaideli ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2548 แทนที่นาย Zurab Zhavania ซึ่งเสียชีวิตลงอย่างกระทันหัน
 
รัฐมนตรีต่างประเทศ
นาย Gela Bezhuashvili
 
สถาบันนิติบัญญัติ
ระบบสภาเดียว (Unicameral Supreme Council) มีสมาชิก 235 คน เลือกตั้งจากการแบ่งเขตประชากรต่อพื้นที่ โดยแบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 150 เขต เขตละ 1 คน และจากการเสนอของพรรคการเมืองอีก 85 คน ดำรงตำแหน่งวาระละ 4 ปี โดยการเลือกตั้งครั้งล่าสุดจัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2547และการเลือกตั้งครั้งต่อไปมีกำหนดจัดขึ้นในปี 2551
 
 

กระทรวงต่างๆ ของจอร์เจีย ประกอบด้วย

 

1.        Ministry of Foreign Affairs
                    Minister     Gela Bezhuashvili

2.       Ministry of Education and Science
                    Minister     Alexander Lomaia

3.       Ministry of Environmental and Natural Resources Protection
                    Minister     George Papuashvili 

4.       Ministry of Economic Development
                    Minister     Irakli Chogovadze                      

5.       Ministry of Power Engineering
                    Minister     Nika Gilauri 

6.       Ministry of Defence
                    Minister     Irakli Okruashvili                           

7.       Ministry of Justice
                    Minister     Gia Kavtaradze                                            

8.       Ministry of Culture, Monuments Protection and Sport
                    Minister     George Gabashvili                           

9.       Ministry of Refugees and Placement
                    Minister     George Kheviashvili

10.     Ministry of Agriculture
                    Minister     Mikheil Svimonishvili

11.     Ministry of Finances
                    Minister     Alexi Alexishvili                        

12.     Ministry of Home Affairs
                    Minister     Ivane Merabishvili  

13.     Ministry of Labor, Health and Social Affairs
                    Minister     Vladimir Chipashvili     

 
 
เศรษฐกิจการค้า
 
 

          เศรษฐกิจดั้งเดิมของจอร์เจียเกี่ยวเนื่องการการท่องเที่ยวบริเวณรอบๆ ทะเลดำ การปลูกมะนาว ชา องุ่น การทำเหมืองแร่แมงกานีสและทองแดง อุตสาหกรรมไวน์ เครื่องมือเครื่องใช้ ผลิตภัณฑ์เคมีและเครื่องนุ่งห่ม

          นับจากวันที่จอร์เจียได้รับอิสรภาพ เศรษฐกิจตกต่ำลงเนื่องจากปัญหาการเมืองภายในประเทศ ทำให้จำนวนประชากรลดลงจากที่ประมาณการว่ามี 5.4 ล้านคนในปี 2543 ลดลงเหลือเพียง 4.7 ล้านในปี 2548

          รัสเซียเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของจอร์เจีย และมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านพลังงาน

 
GDP
3.38 พันล้านดอลลาร์ (2545)
 
GDP per capita (p.p.p.)
652.8 ดอลลาร์สหรัฐ (2545)
 
Real GDP Growth
ร้อยละ 3.5 (2545)
 
อัตราการเจริญเติบโตของผลผลิตภาคอุตสาหกรรม
ร้อยละ 3 (2544)
 
หนี้ต่างประเทศ
1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2543)
 
อัตราเงินเฟ้อ
ร้อยละ 4.6 (2544)
 
อัตราการว่างงาน
ประมาณร้อยละ 17 (2544)
 
มูลค่าการค้ารวม
1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2544)
 
ประเทศคู่ค้าสำคัญ
แหล่งนำเข้าสำคัญ สหภาพยุโรป (23.8) ตุรกี (16) รัสเซีย (12.8)
แหล่งส่งออกสำคัญ ตุรกี (22.3) รัสเซีย (20.6) เยอรมนี (10.4) อาเซอร์ไบจาน (6.3)
 
สินค้าเข้าสำคัญ
เชื้อเพลิง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ อุปกรณ์การขนส่ง ธัญญพืช ผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ ยาและเคมีภัณฑ์
 
สินค้าออกสำคัญ
เหล็กเส้น เครื่องจักร เคมีภัณฑ์ ชา องุ่น ผลไม้รสเปรี้ยว ผลิตผลทางการเกษตรอื่นๆ
 
 

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจอร์เจีย

 

ความสัมพันธ์ทางการทูต

          หลังจากที่สหภาพโซเวียตได้ล่มสลายลงในช่วงปลายปี 2534 โดยสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งเคย รวมเป็นสหภาพโซเวียตได้แยกตัวเป็นอิสระและประกาศตั้งเป็นเอกราชรวม 12ประเทศ ได้แก่ สหพันธรัฐรัสเซีย ยูเครน เบลารุส คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน จอร์เจีย อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน เติร์กเมนิสถาน ทาจิกิสถาน คีร์กิซ และมอลโดวา ซึ่งไทยให้การรับรองเอกราชของประเทศเหล่านี้ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2534 และทั้ง 11 ประเทศ ยกเว้นจอร์เจียได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มประเทศสมาชิก เครือรัฐเอกราช หรือ The Commonwealth of Independent States (CIS) ต่อมา เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2536 จอร์เจียได้เข้าเป็นภาคีของเครือรัฐเอกราช เนื่องจากหวังว่า CIS จะเป็นองค์กรที่ช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งกับอับคาเซียได้ไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจอร์เจียเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2535 ฝ่ายไทยจึงมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโกรับผิดชอบดูแลความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-จอร์เจีย ในขณะที่ฝ่ายจอร์เจียกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์จอร์เจียในประเทศไทย โดยมีนาย Tatsuya Nishimura ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ฯ

 

ความสัมพันธ์ทางการค้า

          ไทยกับจอร์เจียเพิ่งเริ่มมีความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกันเมื่อปี 2538 โดยมูลค่าการค้า ระหว่างสองประเทศยังมีมูลค่าไม่สูงมากนัก แต่มีแนวโน้มที่ดีในการขยายลู่ทางทางการค้าระหว่างกันต่อไป ในปี 2544 มูลค่าการค้ารวมคิดเป็น 4.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า คิดเป็นมูลค่า 1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

          สินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากจอร์เจีย ได้แก่ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เหล็กและเหล็กกล้า กระดาษ กระดาษแข็งและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

          สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังจอร์เจีย ได้แก่ เครื่องวีดีโอ เครื่องเสียงอุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น

 
 

การจัดทำความตกลงทวิภาคี

 
 

          1. ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน (Agreement for the Avoidance of Double Taxation and the Prevention of Fiscal Evasion with respect to Taxes on Income)
สถานะสุดท้าย : อยู่ระหว่างการเจรจา

          2. ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (Agreement on the Promotion and Protection of Investments)
สถานะสุดท้าย : อยู่ระหว่างการเจรจา

          3. ความตกลงทางการค้า (Trade Agreement)
สถานะสุดท้าย : อยู่ระหว่างการเจรจา

          4. ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางเรือ (Agreement on Maritime Transport)
สถานะสุดท้าย : อยู่ระหว่างการเจรจา

          5. ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศ (Air Transport Agreement)
สถานะสุดท้าย : อยู่ระหว่างการเจรจา

 
 

การท่องเที่ยว

 
          ปัจจุบัน นักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) เป็นกลุ่มตลาดใหม่ที่มีการขยายตัวดีมาก จากสถิติของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในปี 2544 มีนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศ CIS เดินทางมาประเทศไทยจำนวน 19,175 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2543 ที่มีจำนวน 17,165 คน ร้อยละ 11.71 ส่วนนักท่องเที่ยวชาวจอร์เจียที่เดินทางมาไทยในปี 2544 มีจำนวน 105 คน ลดลงจากปี 2543 ที่มีจำนวน 106 คน ร้อยละ 0.94 สำหรับใน 5 เดือนแรกของปี 2545 มีนักท่องเที่ยวจากจอร์เจีย เดินทางมายังประเทศไทยจำนวน 72 คน
 
 

การขอรับการตรวจลงตราหนังสือเดินทางของจอร์เจีย

 

1.         กรอกเอกสารขอรับการตรวจลงตราหนังสือเดินทางได้ โดยเอกสารดังกล่าวสามารถขอรับได้จากสถานเอกอัครราชทูตฯ หรือสถานกงสุล รวมทั้งสามารถดึงจากอินเตอร์เน็ตได้ที่ http://www.georgiaemb.org/vizisblanki.pdf

2.         หนังสือเดินทางต้นฉบับที่ยังมีอายุใช้การ

3.         รูปสี 1 ใบ

4.         ค่าวีซ่า

            เข้าออก 1ครั้ง อยู่พำนักไม่เกิน 1 เดือน 10 เหรียญสหรัฐ

            เข้าออก 2 ครั้ง อยู่พำนักไม่เกิน 1 เดือน 15 เหรียญสหรัฐ

            ใช้เวลาการดำเนินการประมาณ 5 -14 วันทำการ

            เข้าออกหลายครั้ง อยู่พำนักไม่เกิน 1 ปี  100 เหรียญสหรัฐ

            เข้าออก 2 ครั้ง อยู่พำนักไม่เกิน 1 เดือน 15 เหรียญสหรัฐ


ใช้เวลาการดำเนินการประมาณ 4-5 วันทำการ

            นอกจากนั้น ชาวต่างชาติยังสามารถขอรับการตรวจลงตราที่สานมบินของกรุง Tbilisi และเมือง Batumi ได้ โดยสามารถอยู่พำนักได้ไม่เกิน 1 เดือน 10 เหรียญสหรัฐ

 
 

เดินทางไปจอร์เจียทางอากาศ

 

            การเดินทางไปจอร์เจียทางอากาศสามารถกระทำได้จากเมืองต่างๆ เหล่านี้ Amsterdam, Athens, Baku, Dubai,Frankfurt, Munich, Istanbul, Moscow, Kiev, Batumi Sochi, Paris, Prague, Vienna, Tel-Aviv,  London

 
 
* * * * * * * * * * * *
 
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก