สาธารณรัฐเบลารุส (Republic of Belarus)

 

 

 

 
 

 

 

ข้อมูลทั่วไป

 
เมืองหลวง
มินสก์ (Minsk) ประชากร 1.8 ล้านคน)
 
พื้นที่
207,600 ตารางกิโลเมตร (ไม่มีทางออกทะเล)
 
ประชากร
10.3 ล้านคน (2005) ร้อยละ 81.2 % เป็นชาวเบลารุสเซีย (Belarusian)
 
ภาษา
เบลารุส และรัสเซีย
 
ศาสนา
คริสต์นิกายออโธด็อกซ์ตะวันออก ร้อยละ 80
 
เวลา
ช้ากว่าไทย 4 ชั่วโมง
 
สกุลเงิน
เบลารุสรูเบิล (Belarusian ruble : BYB) 1 USD = 2,140 BYB
 
การปกครอง

ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร

 
ประธานาธิบดี
นาย Alexander Lukashenko
 
 

ข้อมูลเศรษฐกิจ

 
GDP
23.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2005)
 
GDP per capita
7,600 ดอลลาร์สหรัฐ (2005)
 
สินค้าออกสำคัญ
อุปกรณ์ยานพาหนะ โดยเฉพาะรถยนต์และรถบรรทุก เครื่องจักรและอุปกรณ์ เหล็ก เคมีภัณฑ์ ปุ๋ย และสิ่งทอ
 
สินค้าเข้าสำคัญ
แร่และผลิตภัณฑ์แร่ธาตุ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ ยาง เหล็ก และผลิตภัณฑ์เหล็ก รองเท้า วัตถุดิบอุตสาหกรรมการเกษตร สิ่งทอ เยื่อกระดาษ
 
 
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
 
 

         เบลารุสตกอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิรัสเซียตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 และถูกรัสเซียผนวกเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (USSR) เมื่อปี ค.ศ.1919 ต่อมา เบลารุสถูกยึดครองโดยนาซีเยอรมันระหว่าง ค.ศ.1941-44 โดยมีประชาชนกว่า 2.2 ล้านคนเสียชีวิตในช่วงดังกล่าวซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวยิว การเสื่อมอำนาจและสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของสหภาพโซเวียต และความไร้ประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขเกิดกรณีการระเบิดของโรงานปฏิกรณ์ปรมาณู Chernobyl ที่ตั้งอยู่ในยูเครน เมื่อปี ค.ศ.1986 ซึ่งสารกัมมันตภาพรังสีส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 70 ตกลงบนพื้นดินเบลารุส รวมทั้งการดำเนินนโยบายเปิดกว้างทางการเมืองของประธานธิบดีกอร์บาชอฟ ได้ส่งผลให้เบลารุสประกาศเอกราชในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ.1991 ทั้งนี้ นาย Alexander Lukashenko ได้รับเลือกประธานาธิบดี และปกครอง เบลารุสแบบเผด็จการตั้งแต่ปี ค.ศ.1994

 
 

สถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน

 
 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ.2006 เบลารุสได้จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดี ผลปรากฏว่า นาย Alexander Lukashenko ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีเบลารุสเป็นสมัยที่ 3 ติดต่อกัน แม้ก่อนหน้าการเลือกตั้งมีคาดการณ์ว่าอาจจะเกิดสถานการณ์ปฏิวัติดังเช่นในคีร์กิซสถานและยูเครน แต่การเลือกตั้งได้สิ้นสุดลงโดยไม่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงใดๆ เพราะประชาชนจำนวนมากยังให้การสนับสนุนนาย Lukashenko หรือไม่ก็เกรงกลัวรัฐบาล และฝ่ายค้านเองก็ไม่แข็งแกร่งพอที่จะทำการเคลื่อนไหวได้  
         
สหรัฐฯ และตะวันตกพยายามที่จะใช้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโอกาสในการล้มรัฐบาลของนาย Lukashenko ซึ่งปกครองเบลารุสแบบเผด็จการ  ในขณะที่รัสเซียให้การสนับสนุนนาย Lukashenko เนื่องจากในด้านภูมิรัฐศาสตร์เบลารุสมีความสำคัญอย่างยิ่งกับรัสเซียในแง่ที่เป็นรัฐกันชนกับสหรัฐฯ และประเทศตะวันตก และยังเป็นที่มั่นสุดท้ายในยุโรปในการสกัดการขยายอิทธิพลของ NATO ทั้งนี้ ระบอบการปกครองของนาย Lukashenko ยังดำรงอยู่ได้เนื่องจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเบลารุสเป็นสำคัญ โดยเป็นผลจากการที่รัสเซียยังคงขายน้ำมันและก๊าซให้กับเบลารุสในราคาต่ำกว่าตลาดโลก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการใช้น้ำมันเป็นอาวุธของรัสเซียในการสร้างอิทธิพลของตนในต่างประเทศ

 
 

สภาวะทางเศรษฐกิจปัจจุบัน

 

          แม้ในช่วงปี ค.ศ.2004-05 เศรษฐกิจเบลารุสจะเจริญเติบโตถึงร้อยละ 6.4 และ 7.8 ตามลำดับ แต่พื้นฐานการเติบโตสำคัญเนื่องจากการค้ากับและรัสเซีย และการที่รัสเซียขายน้ำมันและก๊าซให้กับเบลารุสในราคาต่ำกว่าตลาดโลก ทั้งนี้ ประธานาธิบดี Lukashenko ไม่สนับสนุนการปฏิรูปเศรษฐกิจแบบเสรีและส่งเสริมเศรษฐกิจแบวางแผนจากส่วนกลาง โดยรัฐบาลพยายามเข้าควบคุมปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่ รวมทั้งการกำหนดราคาตลาดและอัตราแลกเปลี่ยนในด้านการเกษตร ผลผลิตทางการเกษตรมีจำนวนจำกัดเนื่องจากพื้นดินของเบลารุสที่ใช้ในการเพาะปลูกร้อยละ 25 ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีจากเหตุการณ์ Chernobyl เมื่อปี ค.ศ.1986

 
Belarus-Russia Union State
 
 
          เบลารุสและรัสเซียได้จัดตั้งประชาคมเบลารุสและรัสเซีย (Community of Russia and Belarus) เมื่อปี ค.ศ.1996 ซึ่งวางรากฐานไปสู่การจัดตั้งสหภาพเบลารุสและรัสเซีย (Belarus-Russia Union) เมือปี ค.ศ.1999 โดยเป็นสหภาพที่มีการรวมตัวกันในระดับองค์กรเหนือรัฐ และมีประสานนโยบายด้านการทหาร เศรษฐกิจ และการเงินอย่างใกล้ชิด รวมทั้งใช้ระบบเงินสกุลเดียวกัน (Single Currency) รวมทั้งการจัดตั้งองค์กรร่วมด้านบริหารและนิติบัญญัติและที่สำคัญ คือ Supreme State Council ซึ่งประกอบด้วยผู้นำทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ภายใต้ความตกลงดังกล่าวรัสเซียจะได้ประโยชน์ในการใช้ฐานที่มั่นและระบบพื้นฐานทางทหารจากเบลารุสซึ่งมีพรมแดนติดกับประเทศสมาชิกของ NATO ในขณะที่เบลารุสจะได้สิทธิเข้าสู่ตลาดของรัสเซีย การซื้อน้ำมันและก๊าซในราคาต่ำ และการสนับสนุนทางการเมือง อย่างไรก็ตาม ทั้งสองไม่เห็นพ้องในรูปแบบการดำเนินงาน เช่น รัสเซียไม่เห็นด้วยกับเบลารุสที่จะรวมตัวโดยใช้สกุลเงินรูเบิลของรัสเซียเนื่องจากเรงว่าจะทำให้เศรษฐกิจรัสเซียตกต่ำ ในขณะที่เบลรุสก็ไม่เห็นด้วยกับรัสเซียในเรื่องการจัดตั้งองค์กรเหนือชาติ ซึ่งจะทำให้เบลารุสสูญเสียความเป็นอธิปไตย
 

โอกาสการค้าการลงทุน

 
          เนื่องจากเบลารุสอยู่ในระบบสหภาพเศรษฐกิจร่วมกับรัสเซีย ซึ่งเอื้อประโยชน์ให้สินค้าที่ผลิตในเบลารุส สามารถเข้าตลาดรัสเซียได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านภาษีและศุลกากร ดังนั้นไทยอาจใช้เบลารุสเป็นฐานในการส่งสินค้าตลาดรัสเซียอีกทางหนึ่งได้ ทั้งนี้ สินค้าเบลารุสที่มีศักยภาพ ได้แก่ โลหะ รถแทรคเตอร์  และปุ๋ย สำหรับสินค้าไทยที่มีศักยภาพส่งออกไปเบลารุส ได้แก่ สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป สิ่งทอ ยาสูบ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์
 

ไทยกับสาธารณรัฐคีร์กิซ

 
สถาปนาความสัมพันธ์
21 กรกฎาคม ค.ศ.1992
 
เอกอัครราชทูต
นายสรยุตม์ พรหมพจน์ (ถิ่นพำนัก ณ กรุงมอสโก)
 
มูลค่าการค้ารวม
2.8 ล้านดอลลาร์ (ไทยส่งออก 990,000 และนำเข้า 1.8 ล้านดอลลาร์)
 
สินค้าส่งออกของไทย
หลอดภาพโทรทัศน์สี  เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง ผ้าปักและผ้าลูกไม้  ของเล่น  เครื่องกีฬา รถยนต์ และส่วนประกอบ 
 
สินค้านำเข้าของไทย
ผลิตภัณฑ์โลหะ  กระจก แก้ว และผลิตภัณฑ์  เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ  เสื้อผ้าสำเร็จรูป
 
นักท่องเที่ยว
979 คน (2004)
 
 

ความตกลงระหว่างไทยกับเบลารุส

 

1. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทยกับเบลารุส

2. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับสภาหอการค้าเบลารุส

3. อนุสัญญาเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน

 
 
 
 
 
 
 
* * * * * * * * * * * *
 
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก